วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เอดส์...หยุดได้ถ้าทุกคน...หยุดเสี่ยง

                                                       นายสุวัฒน์ ประสานศักดิ์  52010125039 ระบบพิเศษ กลุ่ม 2

เอดส์...หยุดได้ถ้าทุกคน...หยุดเสี่ยง 

              เอดส์ หรือ AIDS (Acquired Immune Deficiency Syndrome) เป็นกลุ่มอาการของโรค ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอดส์ ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือกขาว ซึ่งเป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ติดเชื้อโรคอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ อาการจะรุนแรง และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต
             โรคเอดส์ (AIDS) คืออะไร (wikipedia.org)
              โรคเอดส์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Acquired Immune Deficiency Syndrome - AIDS) เป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเพราะร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ที่เป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดน้อยลง จึงทำให้ติดเชื้อโรคฉวยโอกาสแทรกซ้อนเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรคในปอด หรือต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา โรคผิวหนังบางชนิด หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตมักเกิดขึ้นจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ เหล่านี้ ทำให้อาการจะรุนแรง และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
            ปัจจุบันโรคเอดส์มีการตรวจพบทั่วโลก และประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรคเอดส์ อย่างน้อย 25 ล้านคน ตั้งแต่ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) นับเป็นโรคที่มีอันตรายสูงโรคหนึ่งของประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติ ในปี พ.ศ. 2548 ประมาณการว่ามีผู้ติดโรคเอดส์ประมาณ 3.1 ล้านคน(ระหว่าง 2.8 - 3.6 ล้าน) ซึ่ง 570,000 คนของผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นเด็ก (UNAIDS, 2005)
   เอดส์ ติดต่อกันได้อย่างไร
            1. การร่วมเพศ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่าชายกับชาย ชายกับหญิง หรือหญิงกับหญิง ทั้งช่องทาง     ธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติ ก็ล้วนมีโอกาสติดโรคนี้ได้ทั้งสิ้น และปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น ได้แก่ การมีแผลเปิด และจากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา ประมาณร้อยละ 84 ของผู้ป่วยเอดส์ ได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
2. การรับเชื้อทางเลือด
          - ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ มักพบในกลุ่มผู้ฉีดยาเสพติด และหากคนกลุ่มนี้ติดเชื้อ ก็สามารถถ่ายทอดเชื้อเอดส์ ทางเพศสัมพันธ์ได้อีกทางหนึ่ง
          - รับเลือดในขณะผ่าตัด หรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด ในปัจจุบันเลือดที่ได้รับบริจาคทุกขวด ต้องผ่านการตรวจหาการติดเชื้อเอดส์ และจะปลอดภัยเกือบ 100%

  3. ทารก ติดเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อเอดส์                                                                     
           การแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอดส์ หากตั้งครรและไม่ได้รับการดูแลอย่างดี เชื้อเอช ไอ วี จะแพร่ไปยังลูกได้ ในอัตราร้อยละ 30 จากกรณีเกิดจากแม่ติดเชื้อ จึงมีโอกาสที่จะรับเชื้อเอช ไอ วี จากแม่ได้
  
  สถิติจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์อายุ 20-24 , 30-34 ,  40-44    ในปีพ.ศ.  2551

           สถิติผู้ป่วยโรคเอดส์ในปี พ.ศ.2551 ในช่วงอายุ 24–24 ปี จะมีผู้ป่วยป่วยเอดส์เป็นชายประมาณ 274 คน และเป็นหญิงประมาณ 311 คนส่วนในช่วงอายุ 30-34 ปี จะมีผู้ป่วยเอดส์เป็นชายประมาณ 1692 คน และเป็นหญิงประมาณ 1280 คนส่วนในช่วงอายุ 40-44 ปีมีผู้ป่วยเอดส์เป็นชายประมาณ 1428 คน และเป็นหญิงประมาณ 768 คน โดยเฉลี่ยแล้วสถิติผู้ป่วยเอดส์ในปี 2551 จะมีผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

 สถิติจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์อายุ 20-24 , 30-34 ,  40-44    ในปีพ.ศ.  2552



             สถิติผู้ป่วยโรคเอดส์ในปี พ.ศ.2552 ในช่วงอายุ 20-24 ปีจะมีผู้ป่วยเป็นชายประมาณ 225 คน และเป็นหญิงประมาณ 154 คน ส่วนในช่วงอายุ 30-34 ปีจะมีผู้ป่วยเอดส์เป็นชายประมาณ 1136 คน และเป็นหญิงประมาณ 918 คน ส่วนในช่องอายุ 40-44 ปีจะมีผู้ป่วยเอดส์เป็นชายประมาณ 1087 คน และเป็นหญิงประมาณ 505 คน โดยเฉลี่ยแล้วสถิติผู้ป่วยเอดส์ในปี 2552 จะมีผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง


สถิติจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์อายุ 20-24 , 30-34 ,  40-44    ในปีพ.ศ.  2553

          สถิติผู้ป่วยโรคเอดส์ในปี พ.ศ. 2553 ในช่วงอายุ 20-24 ปีจะมีผู้ป่วยเอดส์เป็นชายประมาณ 80 คน และเป็นหญิงประมาณ 52 คน ส่วนในช่วงอายุ 30-34 ปีจะมีผู้ป่วยเป็นชายประมาณ 336 คน และเป็นหญิงประมาณ 235 คน ส่วนในช่วงอายุ 40-44 ปีจะมีผู้ป่วยเอดส์เป็นชายประมาณ 317 คน และเป็นหญิงประมาณ 168 คน โดยเฉลี่ยแล้วสถิติผู้ป่วยเอดส์ในปี 2553 จะมีผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง  
               สถิติจำนวนผู้ป่วยเอดส์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2553 จะเห็นได้ว่าจำนวนมากที่สุดของผู้ป่วยเอดส์จะอยู่ในช่วงอายุ 30-34 ปี และส่วนใหญ่จะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง และเมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคเอดส์ทั้งสามปีแล้ว จำนวนผู้ป่วยเอดส์มากที่สุดก็จะอยู่ในปี พ.ศ. 2551 และน้อยที่สุดก็คือปี พ.ศ. 2553
        แม้ว่าโรคเอดส์ จะเป็นโรคอันตรายร้ายแรงก็ตาม แต่เชื้อไวรัสเอดส์จะไม่ติดต่อเมื่อมีการกินอาหารร่วมกัน การสัมผัสกอดรัด จับมือ หรือนั่งใกล้ และพูดคุยกับผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์เชื้อไวรัสเอดส์จะไม่ติดต่อโดยการใช้ของใช้ที่ไม่มีคมร่วมกัน เช่น หวี เสื้อผ้า หรือการใช้ห้องน้ำ, ห้องส้วม อีกทั้งเชื้อไวรัสเอดส์จะไม่ติด ต่อโดยผ่านแมลง เช่น ยุงหรือหมัด ดังนั้นผู้ป่วยโรคเอดส์ จึงสามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมอย่างปกติ
      
 แหล่งอ้างอิง
www.thaiall.com/aids/
ศูนย์ข้อมูลทางระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

1 ความคิดเห็น: