วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตุ้มโฮม คนอีสาน

                                                                                        นายวรงค์กรณ์ พลเกษตร 52010125036 ระบบพิเศษ กลุ่ม 2

บทความ
เรื่อง ตุ้มโฮม คนอีสาน
ความหมายของประชากร
          พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของประชากรไว้ว่าหมู่พลเมือง หมู่สัตว์ เช่น ประชากรช้าง ก็หมายถึง ช้างทุก ๆ ตัว ความหมายโดยทั่วไปที่เข้าใจกันหมายถึงประชาชน พลเมือง หรือราษฎรของแต่ละหน่วยที่เรากำหนด เช่น ประชากรโลก ก็หมายถึงมนุษย์ทุกคนที่อาศัยอยู่บนพื้นโลก ประชากรไทย หมายถึง พลเมืองไทยทุก ๆ คน ส่วนคำว่าภาวะประชากรนั้นหมายถึง ภาวะที่เกี่ยวกับการเกิด การตาย การย้ายถิ่นความหนาแน่น การกระจายตัว ขนาดของประชากรและอื่น ๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากประชากร
โครงสร้างของประชากร
        โครงสร้างของประชากร หมายถึง ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นจากลักษณะต่าง ๆ ของประชากร เช่น อายุ เพศ การศึกษาเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพและอื่น ๆ โครงสร้างต่าง ๆ เหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของประชากรที่น่าสนใจคือ
          1. โครงสร้างของประชากรตามกลุ่มอายุ อายุจะบอกให้ทราบว่า ประชากรของประเทศอยู่ในวัยใด จำนวนมากน้อยเพียงใด ในประเทศที่กำลังพัฒนามักจะมีประชากรช่วงอายุ 0-14 ปีมาก การทราบกลุ่มอายุและจำนวนประชากรตามกลุ่มอายุต่าง ๆ จะช่วยให้สามารถพยากรณ์ หรือคาดคะเนสภาพสังคม เศรษฐกิจ และอื่น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีจำนวนประชากร กลุ่มอายุในวัยเด็กมากกว่าวัยทำงาน ซึ่งวัยเด็กนี้เป็นวัยที่เป็นภาระของครอบครัว ก็สามารถคาดคะเนสภาพเศรษฐกิจของครองครัวและของประเทศได้  ผลจากการทราบจำนวนประชากรตามกลุ่มอายุและการคาดคะเนจำนวนประชากรตามกลุ่มอายุในอนาคต จะช่วยให้รัฐสามารถวางแผนพัฒนาเตรียมการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
          2. โครงสร้างของประชากรตามกลุ่มอาชีพ การรู้โครงสร้างของประชากรตามกลุ่มอาชีพ จะช่วยในการวางแผนพัฒนาและส่งเสริมอาชีพได้ถูกทาง ซึ่งจะเกิดผลดีต่อการพัฒนาประเทศ
           3. สร้างของประชากรตามกลุ่มศาสนา เนื่องจากศาสนาเป็นสิ่งยึดมั่นของประชากร เป็นบ่อเกิดขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมสำคัญ ๆ เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนในสังคม ศาสนาจึงเป็นโครงสร้างที่สำคัญของประชากรที่ช่วยให้รัฐสามารถวางนโยบายอย่างรอบคอบในการพัฒนาประเทศ และพัฒนาชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาต่าง ๆ
แหล่งที่มาของข้อมูลปะชากร
              การเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรทำได้  3 วิธี ได้แก่ สำมะโนประชากร (Population Census) การจดทะเบียนราษฎร (Civil Registration) และการสำรวจตัวอย่าง (Sample Survey)
สำมะโนประชากร (Population Census)
                สำมะโนประชากร หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูล ที่แสดงลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคม ของคนทุกคนภายในประเทศ โดยการแจงนับประชากรทั้งหมดในพื้นที่ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปจะทำทุกๆ 5 ปี หรือ 10 ปี  วัตถุประสงค์ของสำมะโนประชากร คือ เพื่อมีตัวเลขที่สำคัญเกี่ยวกับประชากร อันจะเป็นประโยชน์ ในการบริหารงานของหน่วยงาน
 ทะเบียนราษฎร (Civil Registration)
               ข้อมูลประชากรที่ได้จากการจดทะเบียนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การจดทะเบียนชีพ (Vital registration) และการจดทะเบียนประชากร (Population registration) ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล คุณลักษณะพื้นฐานของประชากร และเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของบุคคลหนึ่ง เช่น การเกิด ตาย แต่งงาน หย่า และย้ายที่อยู่ ที่เป็นปัจจุบันตลอดเวลา ซึ่งจะต่างจากสำมะโนประชากรหรือการสำรวจ ที่เก็บรวบรวมข้อมูล ณ เวลาใดเวลาหนึ่งระบบการจดทะเบียนราษฎรในประเทศ
 การสำรวจตัวอย่าง (Sample Survey)
                การสำรวจตัวอย่าง เป็นการสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลที่มีวัตถุประสงค์เป็นการเฉพาะ ซึ่งมีความแตกต่างจากการทำสำมะโนประชากร และการจดทะเบียนราษฎร คือ ไม่ได้ทำการสำรวจแจงนับหรือจดทะเบียน ประชากรทุกคนแต่จะเลือกเก็บข้อมูลเฉพาะตัวอย่างที่ถูกเลือกมาเป็น ตัวแทนของประชากรทั้งกลุ่มที่ต้องการศึกษาการสำรวจตัวอย่างในประเทศไทย ที่มีการสำรวจอย่างต่อเนื่องและมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลประชากรระดับประเทศ เกี่ยวกับการเกิด การตาย รวมทั้งโครงสร้างอายุและเพศ  และแนวโน้มของประชากรคือ การสำรวจการเปลี่ยนแปลงของประชากร (Survey of Population Change) ซึ่งดำเนินการโดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีการสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางประชากรเริ่มทำในปี พ.ศ. 2507 
การกระจายของประชากร
             การกระจายของประชากรหมายถึง การที่ประชากรรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มตามท้องถิ่นหรือภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศหรือของโลกจากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ.2532 ประเทศไทยมีประชากรทั้งสิ้น 55,888,393 คน ประชากรเหล่านี้กระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ
ความหนาแน่นของประชากร
             ความหนาแน่นของประชากรหมายถึง การที่ประชากรรวมกลุ่มกันอยู่อย่างหนาแน่น หรือเบาบางในถิ่นใดถิ่นหนึ่ง เช่น การรวมกันอยู่ในเขตเมือง
             ประเทศไทยประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดในภาคกลางคือ 467.9 คนต่อตารางกิโลเมตร รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 117.4 คนต่อตารางกิโลเมตร จังหวัดที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร 3,543.9 คนต่อตารางกิโลเมตร และจังหวัดที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุดคือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 13.6 คนต่อตารางกิโลเมตร
ผลกระทบจากการกระจายของประชากร
             การประชากรรวมกลุ่มอาศัยอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของประเทศมากบ้างน้อยบ้างตามแต่ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจและอื่น ๆ นั้น ก่อให้เกิดผลกระทบตามมาหลายด้านที่สำคัญ คือ
             1. ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ การที่ประชากรย้ายถิ่นจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง เพื่อหางานทำหรือหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวนั้นมีผลทั้งด้านบวกและลบ ในทางบวกบางครอบครัวสภาพทางเศรษฐกิจดีขึ้น ในทางลบนั้นทำให้ครอบครัวขาดแรงงานทำให้ที่ทำกินรกร้างว่างเปล่า และเมื่อไปอยู่รวมกันมาก ๆ ในเขตเมือง ทำให้ถูกกดค่าแรงงานและเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา
             2. ผลกระทบทางด้านสังคม ประชากรที่ย้ายถิ่นไปอยู่รวมกันในเขตเมืองอย่างแออัดยัดเยียด เช่น ในกรุงเทพมหานครก่อให้เกิดชุมชนแออัด เกิดปัญหาทางด้านสังคมตามมา ทำให้สังคมขาดความมั่นคงปลอดภัย รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปราบปรามและพัฒนา
ภาวะประชากรที่มีผลต่อการพัฒนา
             สังคมที่ประชากรอาศัยอยู่นี้จะสงบสุขน่าอยู่และพัฒนาก้าวหน้าไปในทางที่เหมาะสมมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพของประชากรเป็นสำคัญ ภาวะประชากรจึงมีผลต่อการพัฒนาสังคมทุก ๆ ด้าน ที่สำคัญ คือ
            1. ด้านการศึกษา การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ประชากรมีคุณภาพในขณะเดียวกัน ภาวะการเกิด การตาย การย้ายถิ่น และอื่น ๆ ก็มีผลต่อการพัฒนาการศึกษาเช่นกัน เมื่อมีประชากรเกิดมาก ๆ หรือย้ายถิ่นไปรวมในแหล่งเดียวกันมาก
            2. ด้านสาธารณสุข  การสาธารณสุขช่วยให้ประชากรอยู่ดีกินดี  ปัจจุบันการสาธารณสุขพัฒนาก้าวหน้าไปมาก  อย่างไรก็ตาม  ภาวะประชากรก็มีผลทำให้การพัฒนาสาธารณสุขได้ไม่ดีเท่าที่ควร  จะเห็นได้จากการที่ประชากรกระจายอยู่ตามท้องถิ่น และภูมิภาคต่าง
            3. ด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับภาวะประชากร  ประเทศที่มีประชากรอยู่ในวัยแรงงานมาก ถ้ามีทรัพยากรธรรมชาติมาก มีประชากรที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการที่ดี  มีตลาดทั้งในและนอกประเทศมาก  การพัฒนาด้านเศรษฐกิจก็กระทำได้โดยง่าย  ในทางตรงกันข้ามแม้จะมีทรัพยากรธรรมชาติมาก แต่ขาดประชากรวัยแรงงาน ขาดประชากรที่มีความรู้ความสามารถ  การพัฒนาเศรษฐกิจก็จะไม่ได้ผล  การย้ายถิ่นก็มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในครอบครัวและประเทศ 
การพัฒนาคุณภาพประชากร
                         ประชากรเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของชุมชนหรือของประเทศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพ ประเทศใดก็ตามที่ประชากรมีคุณภาพจะสามารถพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้ทุก ๆ ด้าน  สามารถต่อสู้ปัญหาและศัตรูได้ในทุกโอกาสและทุกวิถีทาง  ประชาชนอยู่ดีกินก็มีสุขโดยถ้วนหน้า สำหรับประเทศไทย  รัฐได้ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพประชากร
ประชากรแบ่งตามจังหวัด

                จากกราฟนี้จะเห็นได้ว่า จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดในภาคอีสานที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ที่ใหญ่ มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ไม่น้อยไปกว่าจังหวัดกรุงเทพมหานครที่เป็นเมืองหลงของประเทศไทย มีทั้งคนจากภูมิภาคต่างๆและคนในจังหวัดเข้ามาประกอบอาชีพ หรือบางคนก็ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่เป็นครอบครัว ไม่วาจะเป็นประชากรเพศชายหรือเพหญิงจากกราฟจะเห็นได้ว่ามีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน จังหวัดใดที่มีจำนวนประชากรอยู่เป็นจำนวนมากก็แสดงถึงความเจริญของจังหวัดนั้นในด้านต่างๆ ทำให้จังหวัดมีการพัฒนาในลายๆด้าน ทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและอื่นๆ แต่ใช่ว่าการที่มีจำนวนประชากรจากภูมิลำเนาอื่นๆมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากจะทำให้ไม่เกิดผลกระทบ เพราะยิ่งมีคนอาศัยอยู่มากก็ยิ่งมีปัญหาต่างๆตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจราจร อาชญากรรม และปัญหาของสิ่งแวดล้อม
ประชากรชายหญิงในเขตเทศบาล

                และจากกราฟนี้จะเห็นได้ว่าจังหวัดที่มีประชากรอาศัยอยู่น้อยที่สุดคือ จังหวัด มุกดาหาร ซึ่งอาจจะเกิดจากประชากรในจังหวัดนั้นมาประกอบอาชีพที่ภูมิลำเนาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภูมิลำเนาของตัวเอง ที่มีความเจริญทางด้านของเศรษฐกิจ และความหลากหลายของอาชีพ และในบางกลุ่มอาจจะมีการย้ายมาตามสามีหรือภรรยา มาสร้างครอบครัวตามจังหวัดต่างๆที่มีความเจริญและพื้นที่ที่ใหญ่ๆ การที่มาอาศัยอยู่ในจังหวัดที่มีความเจริญมากยิ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆมาตาม วุ่นวาย การกระจายรายได้ไม่ทั่วถึง สร้างค่านิยมให้กับคนรุ่นหลังเกิดความไม่รักในถิ่นฐานบ้านเกิดของตัวเอง เพราะคิดว่าไม่มีความเจริญ ไม่ทันสมัยเหมือนกับจังหวัดใหญ่อย่างนครราชสีมา
ประชากรทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


              ประชากรในภาคอีสาน ในปี พ.ศ. 2552 ทั้งเพศชายและเพศหญิงจากกราฟนี้เห็นได้ว่าจำนวนของทั้งสองเพศจะมีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ความหนาแน่นของประชากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 117.4 คนต่อตารางกิโลเมตร ประชากรไทยมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลง ที่คล้ายคลึงกัน คือการเกิด และการตาย แต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงของประชากรไทย มีการย้ายถิ่นเกี่ยวข้องด้วย ประมาณร้อยละ 6
             ประชากรยิ่งเพิ่มขึ้นปัญหาก็ยิ่งมาก และการหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขปัญหาควรจะมีการส่งเสริมให้ประชากรเกิดความรักถิ่นฐานบ้านเกิดของตัวเอง มีการส่งเสริมในเรื่องของเศรษฐกิจ อาชีพที่หลากหลายและมั่นคง ความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรเพิ่มขึ้น มีความเสมอภาคกัน มีการกระจายรายเที่เท่าเทียมกันเพื่อให้ประชาชนได้รักและภมิใจในบ้านเกิดและทำงานที่บ้านเกิดพร้อมที่จะพัฒนาจังหวัดของตนในหลายๆด้านให้เท่าเทียมกับจังหวัดใหญ่ๆในภาคอีสานได้และเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน รวมไปถึงควรส่งเสริมหรือให้การสนับสนุนการรวบรวมสถิติที่เกี่ยวกับประชากรให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อมขนาดจากนี้ยังควรขยายการศึกษาด้านสถิติให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นในทุกระดับหรือทุกสาขาวิชา เพื่อให้มีเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานทางสถิติให้มากยิ่งขึ้น


เอกสารอ้างอิง


2 ความคิดเห็น: