วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ภาพกิจกรรมต่างๆ

เอดส์...หยุดได้ถ้าทุกคน...หยุดเสี่ยง

                                                       นายสุวัฒน์ ประสานศักดิ์  52010125039 ระบบพิเศษ กลุ่ม 2

เอดส์...หยุดได้ถ้าทุกคน...หยุดเสี่ยง 

              เอดส์ หรือ AIDS (Acquired Immune Deficiency Syndrome) เป็นกลุ่มอาการของโรค ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอดส์ ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือกขาว ซึ่งเป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ติดเชื้อโรคอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ อาการจะรุนแรง และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต
             โรคเอดส์ (AIDS) คืออะไร (wikipedia.org)
              โรคเอดส์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Acquired Immune Deficiency Syndrome - AIDS) เป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเพราะร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ที่เป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดน้อยลง จึงทำให้ติดเชื้อโรคฉวยโอกาสแทรกซ้อนเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรคในปอด หรือต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา โรคผิวหนังบางชนิด หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตมักเกิดขึ้นจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ เหล่านี้ ทำให้อาการจะรุนแรง และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
            ปัจจุบันโรคเอดส์มีการตรวจพบทั่วโลก และประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรคเอดส์ อย่างน้อย 25 ล้านคน ตั้งแต่ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) นับเป็นโรคที่มีอันตรายสูงโรคหนึ่งของประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติ ในปี พ.ศ. 2548 ประมาณการว่ามีผู้ติดโรคเอดส์ประมาณ 3.1 ล้านคน(ระหว่าง 2.8 - 3.6 ล้าน) ซึ่ง 570,000 คนของผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นเด็ก (UNAIDS, 2005)
   เอดส์ ติดต่อกันได้อย่างไร
            1. การร่วมเพศ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่าชายกับชาย ชายกับหญิง หรือหญิงกับหญิง ทั้งช่องทาง     ธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติ ก็ล้วนมีโอกาสติดโรคนี้ได้ทั้งสิ้น และปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น ได้แก่ การมีแผลเปิด และจากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา ประมาณร้อยละ 84 ของผู้ป่วยเอดส์ ได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
2. การรับเชื้อทางเลือด
          - ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ มักพบในกลุ่มผู้ฉีดยาเสพติด และหากคนกลุ่มนี้ติดเชื้อ ก็สามารถถ่ายทอดเชื้อเอดส์ ทางเพศสัมพันธ์ได้อีกทางหนึ่ง
          - รับเลือดในขณะผ่าตัด หรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด ในปัจจุบันเลือดที่ได้รับบริจาคทุกขวด ต้องผ่านการตรวจหาการติดเชื้อเอดส์ และจะปลอดภัยเกือบ 100%

  3. ทารก ติดเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อเอดส์                                                                     
           การแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอดส์ หากตั้งครรและไม่ได้รับการดูแลอย่างดี เชื้อเอช ไอ วี จะแพร่ไปยังลูกได้ ในอัตราร้อยละ 30 จากกรณีเกิดจากแม่ติดเชื้อ จึงมีโอกาสที่จะรับเชื้อเอช ไอ วี จากแม่ได้
  
  สถิติจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์อายุ 20-24 , 30-34 ,  40-44    ในปีพ.ศ.  2551

           สถิติผู้ป่วยโรคเอดส์ในปี พ.ศ.2551 ในช่วงอายุ 24–24 ปี จะมีผู้ป่วยป่วยเอดส์เป็นชายประมาณ 274 คน และเป็นหญิงประมาณ 311 คนส่วนในช่วงอายุ 30-34 ปี จะมีผู้ป่วยเอดส์เป็นชายประมาณ 1692 คน และเป็นหญิงประมาณ 1280 คนส่วนในช่วงอายุ 40-44 ปีมีผู้ป่วยเอดส์เป็นชายประมาณ 1428 คน และเป็นหญิงประมาณ 768 คน โดยเฉลี่ยแล้วสถิติผู้ป่วยเอดส์ในปี 2551 จะมีผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

 สถิติจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์อายุ 20-24 , 30-34 ,  40-44    ในปีพ.ศ.  2552



             สถิติผู้ป่วยโรคเอดส์ในปี พ.ศ.2552 ในช่วงอายุ 20-24 ปีจะมีผู้ป่วยเป็นชายประมาณ 225 คน และเป็นหญิงประมาณ 154 คน ส่วนในช่วงอายุ 30-34 ปีจะมีผู้ป่วยเอดส์เป็นชายประมาณ 1136 คน และเป็นหญิงประมาณ 918 คน ส่วนในช่องอายุ 40-44 ปีจะมีผู้ป่วยเอดส์เป็นชายประมาณ 1087 คน และเป็นหญิงประมาณ 505 คน โดยเฉลี่ยแล้วสถิติผู้ป่วยเอดส์ในปี 2552 จะมีผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง


สถิติจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์อายุ 20-24 , 30-34 ,  40-44    ในปีพ.ศ.  2553

          สถิติผู้ป่วยโรคเอดส์ในปี พ.ศ. 2553 ในช่วงอายุ 20-24 ปีจะมีผู้ป่วยเอดส์เป็นชายประมาณ 80 คน และเป็นหญิงประมาณ 52 คน ส่วนในช่วงอายุ 30-34 ปีจะมีผู้ป่วยเป็นชายประมาณ 336 คน และเป็นหญิงประมาณ 235 คน ส่วนในช่วงอายุ 40-44 ปีจะมีผู้ป่วยเอดส์เป็นชายประมาณ 317 คน และเป็นหญิงประมาณ 168 คน โดยเฉลี่ยแล้วสถิติผู้ป่วยเอดส์ในปี 2553 จะมีผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง  
               สถิติจำนวนผู้ป่วยเอดส์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2553 จะเห็นได้ว่าจำนวนมากที่สุดของผู้ป่วยเอดส์จะอยู่ในช่วงอายุ 30-34 ปี และส่วนใหญ่จะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง และเมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคเอดส์ทั้งสามปีแล้ว จำนวนผู้ป่วยเอดส์มากที่สุดก็จะอยู่ในปี พ.ศ. 2551 และน้อยที่สุดก็คือปี พ.ศ. 2553
        แม้ว่าโรคเอดส์ จะเป็นโรคอันตรายร้ายแรงก็ตาม แต่เชื้อไวรัสเอดส์จะไม่ติดต่อเมื่อมีการกินอาหารร่วมกัน การสัมผัสกอดรัด จับมือ หรือนั่งใกล้ และพูดคุยกับผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์เชื้อไวรัสเอดส์จะไม่ติดต่อโดยการใช้ของใช้ที่ไม่มีคมร่วมกัน เช่น หวี เสื้อผ้า หรือการใช้ห้องน้ำ, ห้องส้วม อีกทั้งเชื้อไวรัสเอดส์จะไม่ติด ต่อโดยผ่านแมลง เช่น ยุงหรือหมัด ดังนั้นผู้ป่วยโรคเอดส์ จึงสามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมอย่างปกติ
      
 แหล่งอ้างอิง
www.thaiall.com/aids/
ศูนย์ข้อมูลทางระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ตุ้มโฮม คนอีสาน

                                                                                        นายวรงค์กรณ์ พลเกษตร 52010125036 ระบบพิเศษ กลุ่ม 2

บทความ
เรื่อง ตุ้มโฮม คนอีสาน
ความหมายของประชากร
          พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของประชากรไว้ว่าหมู่พลเมือง หมู่สัตว์ เช่น ประชากรช้าง ก็หมายถึง ช้างทุก ๆ ตัว ความหมายโดยทั่วไปที่เข้าใจกันหมายถึงประชาชน พลเมือง หรือราษฎรของแต่ละหน่วยที่เรากำหนด เช่น ประชากรโลก ก็หมายถึงมนุษย์ทุกคนที่อาศัยอยู่บนพื้นโลก ประชากรไทย หมายถึง พลเมืองไทยทุก ๆ คน ส่วนคำว่าภาวะประชากรนั้นหมายถึง ภาวะที่เกี่ยวกับการเกิด การตาย การย้ายถิ่นความหนาแน่น การกระจายตัว ขนาดของประชากรและอื่น ๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากประชากร
โครงสร้างของประชากร
        โครงสร้างของประชากร หมายถึง ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นจากลักษณะต่าง ๆ ของประชากร เช่น อายุ เพศ การศึกษาเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพและอื่น ๆ โครงสร้างต่าง ๆ เหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของประชากรที่น่าสนใจคือ
          1. โครงสร้างของประชากรตามกลุ่มอายุ อายุจะบอกให้ทราบว่า ประชากรของประเทศอยู่ในวัยใด จำนวนมากน้อยเพียงใด ในประเทศที่กำลังพัฒนามักจะมีประชากรช่วงอายุ 0-14 ปีมาก การทราบกลุ่มอายุและจำนวนประชากรตามกลุ่มอายุต่าง ๆ จะช่วยให้สามารถพยากรณ์ หรือคาดคะเนสภาพสังคม เศรษฐกิจ และอื่น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีจำนวนประชากร กลุ่มอายุในวัยเด็กมากกว่าวัยทำงาน ซึ่งวัยเด็กนี้เป็นวัยที่เป็นภาระของครอบครัว ก็สามารถคาดคะเนสภาพเศรษฐกิจของครองครัวและของประเทศได้  ผลจากการทราบจำนวนประชากรตามกลุ่มอายุและการคาดคะเนจำนวนประชากรตามกลุ่มอายุในอนาคต จะช่วยให้รัฐสามารถวางแผนพัฒนาเตรียมการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
          2. โครงสร้างของประชากรตามกลุ่มอาชีพ การรู้โครงสร้างของประชากรตามกลุ่มอาชีพ จะช่วยในการวางแผนพัฒนาและส่งเสริมอาชีพได้ถูกทาง ซึ่งจะเกิดผลดีต่อการพัฒนาประเทศ
           3. สร้างของประชากรตามกลุ่มศาสนา เนื่องจากศาสนาเป็นสิ่งยึดมั่นของประชากร เป็นบ่อเกิดขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมสำคัญ ๆ เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนในสังคม ศาสนาจึงเป็นโครงสร้างที่สำคัญของประชากรที่ช่วยให้รัฐสามารถวางนโยบายอย่างรอบคอบในการพัฒนาประเทศ และพัฒนาชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาต่าง ๆ
แหล่งที่มาของข้อมูลปะชากร
              การเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรทำได้  3 วิธี ได้แก่ สำมะโนประชากร (Population Census) การจดทะเบียนราษฎร (Civil Registration) และการสำรวจตัวอย่าง (Sample Survey)
สำมะโนประชากร (Population Census)
                สำมะโนประชากร หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูล ที่แสดงลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคม ของคนทุกคนภายในประเทศ โดยการแจงนับประชากรทั้งหมดในพื้นที่ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปจะทำทุกๆ 5 ปี หรือ 10 ปี  วัตถุประสงค์ของสำมะโนประชากร คือ เพื่อมีตัวเลขที่สำคัญเกี่ยวกับประชากร อันจะเป็นประโยชน์ ในการบริหารงานของหน่วยงาน
 ทะเบียนราษฎร (Civil Registration)
               ข้อมูลประชากรที่ได้จากการจดทะเบียนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การจดทะเบียนชีพ (Vital registration) และการจดทะเบียนประชากร (Population registration) ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล คุณลักษณะพื้นฐานของประชากร และเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของบุคคลหนึ่ง เช่น การเกิด ตาย แต่งงาน หย่า และย้ายที่อยู่ ที่เป็นปัจจุบันตลอดเวลา ซึ่งจะต่างจากสำมะโนประชากรหรือการสำรวจ ที่เก็บรวบรวมข้อมูล ณ เวลาใดเวลาหนึ่งระบบการจดทะเบียนราษฎรในประเทศ
 การสำรวจตัวอย่าง (Sample Survey)
                การสำรวจตัวอย่าง เป็นการสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลที่มีวัตถุประสงค์เป็นการเฉพาะ ซึ่งมีความแตกต่างจากการทำสำมะโนประชากร และการจดทะเบียนราษฎร คือ ไม่ได้ทำการสำรวจแจงนับหรือจดทะเบียน ประชากรทุกคนแต่จะเลือกเก็บข้อมูลเฉพาะตัวอย่างที่ถูกเลือกมาเป็น ตัวแทนของประชากรทั้งกลุ่มที่ต้องการศึกษาการสำรวจตัวอย่างในประเทศไทย ที่มีการสำรวจอย่างต่อเนื่องและมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลประชากรระดับประเทศ เกี่ยวกับการเกิด การตาย รวมทั้งโครงสร้างอายุและเพศ  และแนวโน้มของประชากรคือ การสำรวจการเปลี่ยนแปลงของประชากร (Survey of Population Change) ซึ่งดำเนินการโดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีการสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางประชากรเริ่มทำในปี พ.ศ. 2507 
การกระจายของประชากร
             การกระจายของประชากรหมายถึง การที่ประชากรรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มตามท้องถิ่นหรือภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศหรือของโลกจากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ.2532 ประเทศไทยมีประชากรทั้งสิ้น 55,888,393 คน ประชากรเหล่านี้กระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ
ความหนาแน่นของประชากร
             ความหนาแน่นของประชากรหมายถึง การที่ประชากรรวมกลุ่มกันอยู่อย่างหนาแน่น หรือเบาบางในถิ่นใดถิ่นหนึ่ง เช่น การรวมกันอยู่ในเขตเมือง
             ประเทศไทยประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดในภาคกลางคือ 467.9 คนต่อตารางกิโลเมตร รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 117.4 คนต่อตารางกิโลเมตร จังหวัดที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร 3,543.9 คนต่อตารางกิโลเมตร และจังหวัดที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุดคือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 13.6 คนต่อตารางกิโลเมตร
ผลกระทบจากการกระจายของประชากร
             การประชากรรวมกลุ่มอาศัยอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของประเทศมากบ้างน้อยบ้างตามแต่ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจและอื่น ๆ นั้น ก่อให้เกิดผลกระทบตามมาหลายด้านที่สำคัญ คือ
             1. ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ การที่ประชากรย้ายถิ่นจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง เพื่อหางานทำหรือหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวนั้นมีผลทั้งด้านบวกและลบ ในทางบวกบางครอบครัวสภาพทางเศรษฐกิจดีขึ้น ในทางลบนั้นทำให้ครอบครัวขาดแรงงานทำให้ที่ทำกินรกร้างว่างเปล่า และเมื่อไปอยู่รวมกันมาก ๆ ในเขตเมือง ทำให้ถูกกดค่าแรงงานและเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา
             2. ผลกระทบทางด้านสังคม ประชากรที่ย้ายถิ่นไปอยู่รวมกันในเขตเมืองอย่างแออัดยัดเยียด เช่น ในกรุงเทพมหานครก่อให้เกิดชุมชนแออัด เกิดปัญหาทางด้านสังคมตามมา ทำให้สังคมขาดความมั่นคงปลอดภัย รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปราบปรามและพัฒนา
ภาวะประชากรที่มีผลต่อการพัฒนา
             สังคมที่ประชากรอาศัยอยู่นี้จะสงบสุขน่าอยู่และพัฒนาก้าวหน้าไปในทางที่เหมาะสมมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพของประชากรเป็นสำคัญ ภาวะประชากรจึงมีผลต่อการพัฒนาสังคมทุก ๆ ด้าน ที่สำคัญ คือ
            1. ด้านการศึกษา การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ประชากรมีคุณภาพในขณะเดียวกัน ภาวะการเกิด การตาย การย้ายถิ่น และอื่น ๆ ก็มีผลต่อการพัฒนาการศึกษาเช่นกัน เมื่อมีประชากรเกิดมาก ๆ หรือย้ายถิ่นไปรวมในแหล่งเดียวกันมาก
            2. ด้านสาธารณสุข  การสาธารณสุขช่วยให้ประชากรอยู่ดีกินดี  ปัจจุบันการสาธารณสุขพัฒนาก้าวหน้าไปมาก  อย่างไรก็ตาม  ภาวะประชากรก็มีผลทำให้การพัฒนาสาธารณสุขได้ไม่ดีเท่าที่ควร  จะเห็นได้จากการที่ประชากรกระจายอยู่ตามท้องถิ่น และภูมิภาคต่าง
            3. ด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับภาวะประชากร  ประเทศที่มีประชากรอยู่ในวัยแรงงานมาก ถ้ามีทรัพยากรธรรมชาติมาก มีประชากรที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการที่ดี  มีตลาดทั้งในและนอกประเทศมาก  การพัฒนาด้านเศรษฐกิจก็กระทำได้โดยง่าย  ในทางตรงกันข้ามแม้จะมีทรัพยากรธรรมชาติมาก แต่ขาดประชากรวัยแรงงาน ขาดประชากรที่มีความรู้ความสามารถ  การพัฒนาเศรษฐกิจก็จะไม่ได้ผล  การย้ายถิ่นก็มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในครอบครัวและประเทศ 
การพัฒนาคุณภาพประชากร
                         ประชากรเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของชุมชนหรือของประเทศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพ ประเทศใดก็ตามที่ประชากรมีคุณภาพจะสามารถพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้ทุก ๆ ด้าน  สามารถต่อสู้ปัญหาและศัตรูได้ในทุกโอกาสและทุกวิถีทาง  ประชาชนอยู่ดีกินก็มีสุขโดยถ้วนหน้า สำหรับประเทศไทย  รัฐได้ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพประชากร
ประชากรแบ่งตามจังหวัด

                จากกราฟนี้จะเห็นได้ว่า จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดในภาคอีสานที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ที่ใหญ่ มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ไม่น้อยไปกว่าจังหวัดกรุงเทพมหานครที่เป็นเมืองหลงของประเทศไทย มีทั้งคนจากภูมิภาคต่างๆและคนในจังหวัดเข้ามาประกอบอาชีพ หรือบางคนก็ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่เป็นครอบครัว ไม่วาจะเป็นประชากรเพศชายหรือเพหญิงจากกราฟจะเห็นได้ว่ามีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน จังหวัดใดที่มีจำนวนประชากรอยู่เป็นจำนวนมากก็แสดงถึงความเจริญของจังหวัดนั้นในด้านต่างๆ ทำให้จังหวัดมีการพัฒนาในลายๆด้าน ทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและอื่นๆ แต่ใช่ว่าการที่มีจำนวนประชากรจากภูมิลำเนาอื่นๆมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากจะทำให้ไม่เกิดผลกระทบ เพราะยิ่งมีคนอาศัยอยู่มากก็ยิ่งมีปัญหาต่างๆตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจราจร อาชญากรรม และปัญหาของสิ่งแวดล้อม
ประชากรชายหญิงในเขตเทศบาล

                และจากกราฟนี้จะเห็นได้ว่าจังหวัดที่มีประชากรอาศัยอยู่น้อยที่สุดคือ จังหวัด มุกดาหาร ซึ่งอาจจะเกิดจากประชากรในจังหวัดนั้นมาประกอบอาชีพที่ภูมิลำเนาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภูมิลำเนาของตัวเอง ที่มีความเจริญทางด้านของเศรษฐกิจ และความหลากหลายของอาชีพ และในบางกลุ่มอาจจะมีการย้ายมาตามสามีหรือภรรยา มาสร้างครอบครัวตามจังหวัดต่างๆที่มีความเจริญและพื้นที่ที่ใหญ่ๆ การที่มาอาศัยอยู่ในจังหวัดที่มีความเจริญมากยิ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆมาตาม วุ่นวาย การกระจายรายได้ไม่ทั่วถึง สร้างค่านิยมให้กับคนรุ่นหลังเกิดความไม่รักในถิ่นฐานบ้านเกิดของตัวเอง เพราะคิดว่าไม่มีความเจริญ ไม่ทันสมัยเหมือนกับจังหวัดใหญ่อย่างนครราชสีมา
ประชากรทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


              ประชากรในภาคอีสาน ในปี พ.ศ. 2552 ทั้งเพศชายและเพศหญิงจากกราฟนี้เห็นได้ว่าจำนวนของทั้งสองเพศจะมีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ความหนาแน่นของประชากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 117.4 คนต่อตารางกิโลเมตร ประชากรไทยมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลง ที่คล้ายคลึงกัน คือการเกิด และการตาย แต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงของประชากรไทย มีการย้ายถิ่นเกี่ยวข้องด้วย ประมาณร้อยละ 6
             ประชากรยิ่งเพิ่มขึ้นปัญหาก็ยิ่งมาก และการหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขปัญหาควรจะมีการส่งเสริมให้ประชากรเกิดความรักถิ่นฐานบ้านเกิดของตัวเอง มีการส่งเสริมในเรื่องของเศรษฐกิจ อาชีพที่หลากหลายและมั่นคง ความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรเพิ่มขึ้น มีความเสมอภาคกัน มีการกระจายรายเที่เท่าเทียมกันเพื่อให้ประชาชนได้รักและภมิใจในบ้านเกิดและทำงานที่บ้านเกิดพร้อมที่จะพัฒนาจังหวัดของตนในหลายๆด้านให้เท่าเทียมกับจังหวัดใหญ่ๆในภาคอีสานได้และเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน รวมไปถึงควรส่งเสริมหรือให้การสนับสนุนการรวบรวมสถิติที่เกี่ยวกับประชากรให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อมขนาดจากนี้ยังควรขยายการศึกษาด้านสถิติให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นในทุกระดับหรือทุกสาขาวิชา เพื่อให้มีเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานทางสถิติให้มากยิ่งขึ้น


เอกสารอ้างอิง